การใช้งาน MySQL เบื้องต้น
ยินดีต้อนรับเข้าสู่สื่อการเรียนการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์
เนื้อหาโดยสังเขป : หลักสูตรนี้จัดทำขึ้นเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมความรู้ความเข้าใจในการใช้งาน MySQL เบื้องต้น เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด โดยเนื้อหาภายในหลักสูตรจะอธิบายถึงความแตกต่างระหว่าง MySQL กับ SQL, Database Tools คืออะไร, ส่วนประกอบโครงสร้างตารางข้อมูล (Table) มีอะไรบ้าง, ความสัมพันธ์ระหว่างตาราง, ปูพื้นฐานคำสั่ง SQL ที่จำเป็นต่อการใช้งาน โดยแนะนำรูปแบบการใช้คำสั่ง (Syntax) พร้อมตัวอย่างและผังภาพประกอบช่วยทำให้เข้าใจง่าย
หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ : ผู้เริ่มต้น หรือ ผู้ที่สนใจ Query ข้อมูล และจัดการฐานข้อมูล MySQL โดยไม่จำเป็นต้องมีความรู้ด้านการใช้งานโปรแกรมมาก่อน
เนื้อหาทั้งหมด : 41 วิดีโอ ความยาวรวมกัน 3 ชั่วโมง 55 นาที โดยผู้เรียนสามารถเข้าเรียนเมื่อไหร่ก็ได้ตามความสะดวก
Modules
บทที่ 1 การจัดการฐานข้อมูล (DATABASE)
Lessons
บทที่ 2 การจัดการตารางข้อมูล (TABLE) ในฐานข้อมูล
Lessons
- การสร้างตารางข้อมูล (Table) ใหม่ และกำหนดชนิดข้อมูล (Data Type) ของแต่ละคอลัมน์ ด้วยคำสั่ง CREATE TABLE
- การปรับแก้ไขโครงสร้างตารางข้อมูล (Table) หรือ แก้ไขชนิดข้อมูล (Data Type) ของคอลัมน์ ในตารางข้อมูล ด้วยคำสั่ง ALTER TABLE
- การลบตารางข้อมูล (Table) ที่ไม่ได้ใช้งาน ออกจากฐานข้อมูล ด้วยคำสั่ง DROP TABLE
บทที่ 3 การจัดการข้อมูล (DATA) ในตารางข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล
Lessons
บทที่ 4 การเรียกดูข้อมูล (SELECT) ในตารางข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล
Lessons
- การ SELECT ข้อมูล
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกระบุเงื่อนไข ด้วยคำสั่ง WHERE
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกระบุหลายเงื่อนไข และเลือกแสดงเฉพาะแถวข้อมูลที่มีเงื่อนไขตรงกันทั้งหมดตามที่ระบุไว้ ด้วยคำสั่ง AND
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกระบุหลายเงื่อนไข และเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่มีเงื่อนไขตรงกันทั้งหมดหรือมีเงื่อนไขใดเงื่อนไขหนึ่งตรงตามที่ระบุไว้ ด้วยคำสั่ง OR
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกระบุค้นหาข้อมูลหลายรายการในคอลัมน์เดียวกัน ด้วยคำสั่ง IN
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกค้นหาเฉพาะข้อมูลที่อยู่ในช่วงที่กำหนด โดยมีการระบุค่าเริ่มต้นและค่าสิ้นสุด ด้วยคำสั่ง BETWEEN
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกค้นหาบางส่วนของข้อมูลในตารางข้อมูล ด้วยคำสั่ง LIKE
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกไม่ให้แสดงแถวข้อมูลตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ ด้วยคำสั่ง NOT
- การ SELECT ข้อมูล แบบตั้งชื่อเล่นหรือชื่อย่อ ให้กับคอลัมน์หรือตารางข้อมูล ด้วยคำสั่ง ALIASES
- การ SELECT ข้อมูล แบบระบุคำอธิบายในชุดคำสั่ง หรือ ปิดชุดคำสั่งที่ไม่ต้องการ เพื่อไม่ให้ถูกประมวลผล ด้วยคำสั่ง Comments
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกเรียกดูข้อมูล เฉพาะแถวข้อมูลที่มีค่าข้อมูลไม่ซ้ำกัน ด้วยคำสั่ง DISTINCT
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกเรียกดูข้อมูล เฉพาะแถวข้อมูลที่ไม่มีข้อมูลอยู่ในคอลัมน์ ด้วยคำสั่ง NULL
- การ SELECT ข้อมูล แบบเลือกเรียกดูข้อมูล โดยมีฟังก์ชันในการรวม (Aggregate Functions)
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการจัดเรียงลำดับข้อมูลตอนแสดงผล ด้วยคำสั่ง ORDER BY
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการจัดกลุ่มข้อมูลตามหมวดหมู่ในคอลัมน์ ด้วยคำสั่ง GROUP BY
- การ SELECT ข้อมูล แบบกรองข้อมูลที่ถูกจัดกลุ่มข้อมูลตามหมวดหมู่ (GROUP BY) ด้วยคำสั่ง HAVING
- การ SELECT ข้อมูล แบบกำหนดจำนวนแถวข้อมูลที่ต้องการแสดง ด้วยคำสั่ง LIMIT
- การ SELECT ข้อมูล แบบเรียกดูข้อมูลแล้วนำมาประมวลผลและแสดงค่าตามที่ระบุไว้ ด้วยคำสั่ง CASE
- การ SELECT ข้อมูล แบบกำหนดรูปแบบวันที่ในการแสดงข้อมูล ด้วยคำสั่ง DATE_FORMAT
- การ SELECT ข้อมูล แบบคำนวณส่วนต่างของวันและเวลา ด้วยคำสั่ง TIMESTAMPDIFF
- การ SELECT ข้อมูล แบบรวมคอลัมน์ ตั้งแต่ 2 คอลัมน์ขึ้นไป ให้อยู่ในคอลัมน์เดียวกัน ด้วยคำสั่ง CONCAT
- การ SELECT ข้อมูล แบบรวมทุกๆ แถวข้อมูลในคอลัมน์เดียวกัน ให้อยู่ในแถวข้อมูลเดียวกัน ด้วยคำสั่ง GROUP_CONCAT
- การ SELECT ข้อมูล แบบแสดงจำนวนอักขระของข้อมูลที่ระบุไว้ ด้วยคำสั่ง LENGTH
- การ SELECT ข้อมูล แบบแสดงข้อมูลให้เป็นตัวพิมพ์เล็ก หรือพิมพ์ใหญ่ ด้วยคำสั่ง LOWER / UPPER
บทที่ 5 การเรียกดูข้อมูล (SELECT) ในหลายๆ ตารางข้อมูลที่อยู่ในฐานข้อมูล มา JOIN ข้อมูลกัน และแนะนำเทคนิคการใช้งาน Sub Query
Lessons
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลจากหลายตาราง มารวมเป็นตารางเดียวกัน และเลือกแสดงเฉพาะแถวข้อมูลที่มี Key ตรงกันเท่านั้น ด้วยคำสั่ง INNER JOIN
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลจากหลายตาราง มารวมเป็นตารางเดียวกัน และเลือกแสดงแถวข้อมูลในตารางฝั่งซ้ายเป็นหลัก ด้วยคำสั่ง LEFT JOIN
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลจากหลายตาราง มารวมเป็นตารางเดียวกัน และเลือกแสดงแถวข้อมูลในตารางฝั่งขวาเป็นหลัก ด้วยคำสั่ง RIGHT JOIN
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลจากหลายตาราง มารวมเป็นตารางเดียวกัน และเลือกแสดงแถวข้อมูลทั้งหมดที่มีการจับคู่กัน โดยไม่จำเป็นต้องมี Key ที่ตรงกัน ด้วยคำสั่ง CROSS JOIN
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลภายในตารางเดียวกัน แล้วจำลองเป็นตารางใหม่เพิ่มอีกตารางหนึ่ง เพื่อมาเปรียบเทียบข้อมูลในตารางเดียวกัน ด้วยเทคนิค SELF JOIN
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการดึงข้อมูลจากหลายตาราง มารวมเป็นตารางเดียวกัน และเลือกแสดงเฉพาะแถวข้อมูลที่มีชนิดข้อมูลเดียวกันมารวมกัน ให้เป็นชุดข้อมูลเดียวกัน ด้วยคำสั่ง UNION
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีชุดคำสั่งสืบค้นย่อย (SELECT ซ้อน SELECT) ด้วยเทคนิค Sub Query
- การ SELECT ข้อมูล แบบมีการเปรียบเทียบข้อมูลระหว่างตาราง โดยเลือกแสดงเฉพาะข้อมูลที่มีค่าข้อมูลตรงกับเงื่อนไขที่ระบุไว้ในชุดคำสั่ง Sub Query ด้วยคำสั่ง EXISTS